ตะกร้า

ตะกร้า

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

Service Profild

Service profile 2553
หน่วยงาน  จ่ายกลาง


  1. บริบท (Context)
ก.หน้าที่และเป้าหมาย
                          ห้องทำลายเชื้อ ให้บริการนึ่งทำลายเชื้อเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วยเครื่องนึ่งอบฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำแบบอัตโนมัติ  โดยเริ่มตั้งแต่ตรวจสอบและบรรจุหีบห่อเครื่องมือ  และอุปกรณ์ที่จะนำส่งหน่วยงานด้านการรักษาพยาบาลใน รพ.รร.จปร.  และเมื่อผ่านกระบวนการทำลายเชื้อเรียบร้อยแล้วก็ส่งคืนให้หน่วยที่มารับบริการ ตามแนวทางที่วางไว้ เพื่อนำไปใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาล ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างถูกต้องเพียงพอ   ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการ
ข. ขอบเขตการให้บริการ
                    ตามศักยภาพของ รพ.รร.จปร.  สามารถให้บริการนึ่งทำลายเชื้อด้วยไอน้ำให้กับทุกหน่วยรักษาพยาบาลที่มารับบริการได้แก่ ห้องผ่าตัด  กองทันตกรรม  หอผู้ป่วย  ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก  ศูนย์ไตเทียม  ห้องฉุกเฉิน  และห้องปฐมพยาบาล ก.4 รร.จปร.พยาธิ ทุกวันในเวลาราชการและนอกเวลาราชการกรณีเร่งด่วนหรือวันหยุดติดต่อกัน 3 วันขึ้นไป เพื่อให้มีความเพียงพอในการใช้งาน  นอกจากนี้ยังให้บริการนึ่งทำลายด้วยวิธีอบ Gas โดยรวบรวมตรวจสอบ และส่งทำลายเชื้อที่ รพ.พระมงกุฎเกล้าตามวงรอบการส่งป่วยของรพ. โดยเฉลี่ยอย่างน้อย 2  สัปดาห์ต่อครั้ง และส่งรพ.ในพื้นที่เมื่อมีความต้องการใช้อย่างเร่งด่วนซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง และมีจำนวนจำกัด ในการหมุนเวียนเพื่อให้หน่วยใช้เครื่องมือเพียงพอและพร้อมใช้งานตลอดเวลา
ค. ผู้รับผลงานและความต้องการที่สำคัญ : หน่วยงานที่รับบริการ
- ได้ใช้เครื่องมือที่สะอาด ปราศจากเชื้อมีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน IC
- ได้รับอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์เพียงพอถูกต้องรวดเร็วทันเวลาและมีประสิทธิภาพพร้อมใช้งาน
-  ต้องการให้หน่วยจ่ายกลางเปิดเป็น Central Supply               
-  ต้องการให้เป็นศูนย์กลางการเก็บอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ผ่านการทำลายเชื้อแล้ว
ง. ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ : การพัฒนาที่ต่อเนื่องในทุกเป้าหมาย
1. เครื่องมือ/อุปกรณ์ ปราศจากเชื้อมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานมีเพียงพอ พร้อมใช้งาน
2. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน
3. มีการจัดแบ่งพื้นที่เป็นโซนชัดเจน
4.มีการตรวจเช็คความพร้อมใช้งานของเครื่องนึ่งทำลายเชื้อทุกวันโดยเจ้าหน้าที่หน่วยจ่ายกลาง
4. มีการ  Maintenance เครื่องนึ่งโดยช่างผู้ชำนาญการตามวงรอบทุกปี
จ. ความท้าทายและความเสี่ยงที่สำคัญ
                1. ความเสี่ยงด้านการบริการ
-  ข้อร้องเรียนจากผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ เช่น เครื่องมือ/อุปกรณ์ ปราศจากเชื้อไม่สะอาด  ชำรุด  ไม่พร้อมใช้งาน
2.  ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
                2.1  มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
                2.2  มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากของมีคม
                2.3  อัตราส่วนของบุคลากรต่อปริมาณงาน
                2.4  การไม่ปฏิบัติตามแนวทาง ที่กำหนดไว้ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ฉ.ปริมาณงานและทรัพยากร    อัตรากำลังพลของหน่วยจ่ายกลางประกอบด้วย
                1. ผู้ช่วยพยาบาล   (หัวหน้างาน) 1 คน
2. พนักงานหน่วยจ่ายกลาง  1 คน
- ปฏิบัติงานทุกวันในเวลาราชการ และในวันหยุดติดต่อกัน 3 วันขึ้นไป มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 1 คน
3. ภาระงานโดยเฉลี่ยในแต่ละวัน จะมีจำนวนอุปกรณ์ที่ต้องทำให้ปราศจากเชื้อ อบไอน้ำทั้งหมด ประมาณ 150 – 200 ชิ้น  
                4. อุปกรณ์เครื่องมือที่สำคัญในหน่วยงาน ได้แก่ เครื่องมือในการทำให้ปราศจากเชื้อ  เครื่องอบไอน้ำ 2 เครื่อง ขนาด 340 ลิตร  มีการบำรุงรักษา เครื่องมือตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
สรุปค่าใช้จ่ายในการซ่อมเครื่องนึ่งอบไอน้ำ ปี 53 =  21,000 บาท

งทำลายเชื้อของทุกหน่วย ปี 2553       
หมายเหตุจำนวนอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีผู้ป่วยทำหัตถการมากขึ้น

ช.การส่งเสริมสุขภาพในเจ้าหน้าที่
                1. เจ้าหน้าที่ใช้อุปกรณ์ตนเองขณะปฏิบัติงาน
2. มีการตรวจสุขภาพประจำปี ไม่พบความผิดปกติ
3. การให้วัคซีนป้องกันโรคที่จำเป็น เช่น   วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

2. กระบวนการสำคัญ (Key Process)
กระบวนการ
สิ่งคาดหวังจากกระบวนการ
ความเสี่ยงสำคัญ
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
1. การรับอุปกรณ์/เครื่องมือจากหน่วยงาน
- ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
- เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน
-เจ้าหน้าที่ได้รับอุบัติเหตุจากของมีคม
* ไม่พบเจ้าหน้าที่ได้รับ
-อุบัติการณ์เจ้าหน้าที่ได้รับอุบัติเหตุจากของมีคม

2. การทำความสะอาดอุปกรณ์
- มีการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์อย่างถูกวิธี และเหมาะสม
- เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน
- การล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ไม่ถูกวิธี และไม่สะอาด
*  ไม่พบอุบัติการณ์
-  ไม่พบเจ้าหน้าที่ได้รับอุบัติเหตุจากของมีคม
-  จำนวนครั้งการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ไม่ถูกวิธี และไม่สะอาด
- อุบัติการณ์เจ้าหน้าที่ได้รับอุบัติเหตุจากของมีคม
3. การจัดหีบห่ออุปกรณ์
- เครื่องมือพร้อมใช้งานไม่ชำรุด/สูญหาย
- มีการใช้วัสดุสำหรับห่ออุปกรณ์ที่เหมาะสม
-  เดือน ม.ค. – ธ.ค. 53ไม่พบ เครื่องมือ/ อุปกรณ์ชำรุด
- พบห่อเครื่องมือ/อุปกรณ์ชำรุด / ฉีกขาด / ห่อผ้ามีรูขาด 21 ชิ้น
- อุบัติการณ์เครื่องมือแพทย์ไม่พร้อมใช้งาน  
- จำนวนครั้งที่ส่งอุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์มานึ่ง
4. การทำให้ปราศจากเชื้อ
- มีการตรวจสอบความพร้อมใช้งานของเครื่องอบไอน้ำ
(B - D Test)
- มีการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำให้ปราศจากเชื้อ (Spore Test )
- เดือน ม.ค.– ธ.ค. 53 เครื่องอบไอน้ำชำรุด 1 ครั้ง
- พบอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ Implant ของบริษัท ไม่ผ่านการทำ Spore Test

- อุบัติการณ์เครื่องทำให้ปราศจากเชื้อไม่พร้อมใช้งาน/ ชำรุด  
- จำนวนครั้งของการทดสอบประสิทธิภาพ การทำให้ปราศจากเชื้อ
5. การเก็บห่ออุปกรณ์ปราศจากเชื้อ
- มีการจัดเก็บอุปกรณ์ในที่ที่สะอาด อยู่ในระบบปิด
- มีการจัดห่ออุปกรณ์เป็นหมวดหมู่ ใช้ระบบ First in / First out
- เดือน ม.ค. – ธ.ค. 53 พบ เครื่องมือหมดอายุมีการทำให้ปราศจากเชื้อใหม่ 1,191 ชิ้น
- ไม่พบห่ออุปกรณ์/ เครื่องมือชำรุด
- จำนวนครั้งของการ           Re – sterile
6. การนำส่งอุปกรณ์ปราศจากเชื้อ
- มีการตรวจสอบ ห่ออุปกรณ์ก่อนนำส่ง
- หน่วยงานได้รับอุปกรณ์ครบถ้วนที่ตรง และทันต่อความต้องการ
- บันทึกข้อมูลวันผลิต            วันหมดอายุถูกต้อง
- เดือน ม.ค. – ธ.ค. 53  พบ ห่ออุปกรณ์เปียกชื้น  1 ครั้ง
- พบระบุวันผลิต/วันหมดอายุไม่ถูกต้อง 1 ครั้ง
- อุบัติการณ์การค้างจ่ายอุปกรณ์/เครื่องมือ


3. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Performance Indicator)

เครื่องชี้วัด

เป้าหมาย

ปี 50
ปี 51
ปี 52
ปี 53
1.จำนวนครั้งที่เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บจากของมีคม
0
ไม่พบ
ไม่พบ
ไม่พบ
ไม่พบ
2.  จำนวนของเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ไม่พร้อมใช้งาน / ชำรุด
0
0
0
0
0
3.ร้อยละ ของการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือที่ทำให้ปราศจากเชื้อ ด้วยเครื่อง Autoclave ได้ผลลบ
100 %

100 %
66 ครั้ง
100 %
58 ครั้ง
100 %
49 ครั้ง
100 %
232 ครั้ง
4. ร้อยละของห่อเครื่องมือชำรุด / ซองฉีกขาด/ผ้ามีรูขาด/ ห่ออุปกรณ์เปียก
0
-
-
0.5 %
0.2 %
5.อัตราการRe-sterile ของเครื่องมือ/อุปกรณ์
< = 5 %
-
-
4.6 %
3.3 %
6.อัตราเครื่องนึ่งอบไอน้ำปราศจากเชื้อผ่านการทดสอบประสิทธิภาพ(B-D Test)
100 %
-
-

69 %

89 %
7.อัตราอุปกรณ์ Implant ไม่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพ
การทำให้ปราศจากเชื้อ(Spore Test)
0
-
-
0
5%


 4. กระบวนการหรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพ                                                                                                           
4.1  งานพัฒนาคุณภาพที่ได้ดำเนินการสำเร็จและยังคงใช้อยู่
                1. การพัฒนากระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ ให้มีประสิทธิภาพ
2. การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากเครื่องมือที่ใช้แล้ว
                3. การป้องกันอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน
                4. การป้องกันการเจ็บป่วยจากการทำงาน
4.2 การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ
1. ระบบการสำรองเครื่องมือ/อุปกรณ์การแพทย์
2. ทบทวนการใช้ทรัพยากร
3. ทบทวนการ Re-sterile ของเครื่องมือ/อุปกรณ์
4. การจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัย 
5. แผนพัฒนาต่อเนื่อง
1.      พัฒนาระบบการทำให้ปราศจากเชื้อให้เป็น Central Supply
2.       การเฝ้าระวังการติดเชื้อในเจ้าหน้าที่/ผู้ป่วย
3.      ระบบการจัดการความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม
4.      การบริหารทรัพยากรให้คุ้มทุน
5.             ประกันคุณภาพกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ

การห่อเครื่องมือ

1ต้องล้างให้สะอาด
2 ห่อให้แน่น